Exotic pets
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสุนัขและแมว
เนื้องอกและมะเร็ง
ระบบทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต
ระบบประสาท
ระบบสืบพันธุ์
โรคกระดูกและข้อ และกายภาพบำบัด
เอ็นข้อเข่าฉีกขาด
ข้อสะโพกเสื่อม
กายภาพบำบัดในสัตว์เลี้ยง
ลูกสะบ้าเคลื่อน
การดูแลสัตว์เลี้ยงอัมพาต
โรคตาในสัตว์เลี้ยง
โรคที่สำคัญในแมว
โรคผิวหนัง
โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคอื่นๆในสัตว์เลี้ยง
อุปกรณ์การแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย
 
กายภาพบำบัดในสัตว์เลี้ยง
ความจำเป็นของการกายภาพบำบัดในสุนัข (Physical rehabilitation , Physical therapy)

          การกายภาพบำบัด หมายถึง การกระทำต่อร่างกายเกี่ยวกับการตรวจประเมิน วินิจฉัย รวมถึงการป้องกัน แก้ไข และบำบัดฟื้นฟูความเสื่อมสภาพของร่างกาย ซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะของโรค หรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ โดยประโยชน์ของการกายภาพที่สำคัญคือ ช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และลดการอักเสบที่เกิดขึ้น เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ ป้องกันการฝ่อลีบเนื่องจากการไม่ได้ใช้งานมาเป็นเวลานาน ช่วยฟื้นฟูสัตว์ป่วยทำให้สามารถกลับมาใช้งานขาได้เร็วขึ้น และช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นด้วย
โดยเราสามารถแบ่งสัตว์ป่วยออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
  1. สัตว์ป่วยหลังการทำศัลยกรรมกระดูก เช่น การผ่าตัดแก้ไขกระดูกหัก การผ่าตัดแก้ไขลูกสะบ้าเคลื่อน เป็นต้น
  2. สัตว์ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก หรือมีปัญหาโรคข้อต่างๆ เช่น โรคข้อสะโพกเสื่อม
  3. สัตว์ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บของระบบประสาทไขสันหลังที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก เป็นต้น
การทำกายภาพในสุนัขหลังการทำศัลยกรรมกระดูก และข้อต่อจำเป็นแค่ไหน ?
          ในปัจจุบันสัตว์ป่วยที่ต้องเข้ารับการทำศัลยกรรมกระดูกมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการผ่าตัดแก้ไขกระดูกหัก ซึ่งจะเห็นได้ว่าในบางกรณีจะใช้เวลาค่อนข้างนานกว่ากระดูกจะเชื่อมกันได้ หรือบางครั้งพอกระดูกเชื่อมติดกันดีแล้วกลับมีปัญหาอื่นเพิ่มตามมา เช่น กล้ามเนื้อฝ่อลีบขาดความแข็งแรง หรือข้อยึด เป็นต้น ซึ่งการกายภาพจะช่วยป้องกันและฟื้นฟูในส่วนนี้ได้ ทั้งนี้เจ้าของสัตว์ต้องเข้าใจการทำงานของกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าไม่ได้ใช้งานขานานๆเพียง 1-2 สัปดาห์ เส้นใยกล้ามเนื้อก็จะลดความแข็งแรง และความยืดหยุ่นลง มวลกล้ามเนื้อก็จะลดลงด้วยทำให้เห็นลักษณะการฝ่อลีบ ส่วนเนื้อกระดูกก็จะบางลงภายใน 2 สัปดาห์ ดังนั้นควรจะให้มีการลงน้ำหนักของขาบ้างเป็นระยะ ส่วนของข้อต่อต่างๆนั้นในภาวะปกติจะได้รับสารอาหารเข้าภายในข้อก็ต่อเมื่อมีการขยับเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ดังนั้นในกรณีที่จำเป็นต้องจำกัดการเคลื่อนไหวกลับจะส่งผลให้ข้อต่อขาดสารอาหารทันที และภายใน 4 วัน ข้อจะเริ่มมีเยื่อพังผืดเข้ามาสะสมมากขึ้นทำให้ข้อฝืดขึ้น และภายใน 2 สัปดาห์เอ็นข้อต่อก็จะลดความแข็งแรงความยืดหยุ่นลง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการกายภาพมีความจำเป็นมากต่อสัตว์ป่วยที่ได้รับการศัลยกรรมกระดูก เรียกได้ว่าต้องให้ความสำคัญกันตั้งแต่ร่างกายเริ่มได้รับการบาดเจ็บ จนหลังการผ่าตัดแก้ไข ตัวอย่างวิธีการกายภาพบำบัด ได้แก่
  1. การประคบร้อน-ประคบเย็น (Thermal modalities)
  2. ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Neuromuscular electrical stimulation) ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ
  3. การบริหารออกกำลังกาย (Therapeutic exercises)
  4. การใช้ธาราบำบัด (Aquatic therapy)

 
 
โรงพยาบาลสัตว์ศรีวรา
1325 ซอยลาดพร้าว 94 (ปัญจมิตร) แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพ 10310
โทรศัพท์ 0-2530-7636-7 แฟกซ์ 0-2530-7633
Copyright © 2011 Sriwara Animal Hospital Co. ,Ltd. All rights reserved.